Read more: http://nanfufu.blogspot.com/2012/06/blog-post.html#ixzz4SPidy3rb }} function sparkle() { var c; if (x!=ox || y!=oy) { ox=x; oy=y; for (c=0; c Read more: http://nanfufu.blogspot.com/2012/05/blog-post_1827.html#ixzz4SPi0p5MQ EAED3212การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย: ตุลาคม 2016

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 9
วันที่ 24 ตุลาคม 2559


**วันนี้ไม่มีการเรรียนการสอนเนื่องจาก หยุดชดเชย วันปิยะมหาราช**


วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 8
วันที่ 17 ตุลาคม 2559


บรรยากาศในห้องเรียน



มาถึงอาจารย์ก็ทบทวนกิจกรรมครั้งที่แล้วว่ามีอะไรบ้าง แต่ละฐานได้ความรู้เกี่ยวกับอะไรอย่างไร สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาใดได้บ้าง และอาจารย์บอกว่า ผลงานของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าหากจะให้เด็กไปสู่ความคิดสร้างครูมีส่วนสำคัญในการช่วยเด็กคือจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก ฌเยครูมีอุปกรณ์ต่างๆมาให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆและสร้างสรรค์สื่อออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย
หลังจากทวบทวนสร็จแล้วครูก็แจก กระดาษเอสี่ คนละใบแล้วจับกลุ่ม กลุ่มละ 10คนแล้วให้แต่ละคนวาดรูปทรง เรขาคณิตห้ามซ้ำกัน มาคนละ 1 รูป และให้แต่ละคนออกแบบวาดเป็นอะไรก็ได้โดยรูป

ทรงที่ตนเองเลือกต้องชัดเจนที่สุด



รูปทรงที่ดิฉันเลือกคือ ทรง หกเหลี่ยม
ต่อเติมความสร้างสรรค์เข้าไปเป็นหมู


ส่วนของเพื่อน รุปทรงสามเหลี่ยม
ต่อเติมความคิดสร้างสรรค์ไป เป็นปู

รูปทรง สี่เหลี่ยม
เพื่อนเติมควมสร้างสรรค์ไปเป็นทีวี โทรทัศน์

พอวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เอารูปไปติดที่กระดานทีละกลุ่ม 



กลุ่มดิฉันเป็นกลุ่มแรก อาจารย์ก็ถามแต่ละใบไล่มาเรื่อยๆถามเกี่ยวกับสิ่งทีแล้ววาดต่อเติมจาก รูปทรงเลขาคณิต ว่าทำไมถึงวาดรูปนี้ ออกแบบมาจากอะไร การที่เราจะวาดหรือออกแบบได้นั้น ต้องออกแบบที่มาจากประสบการณ์เดิม สิ่งที่เคยเห็ยมาก่อน หรือสิ่งที่เราเห็นแต่คิดต่างจากนั้น และ การที่เราเชื่อมโยงสิ่งนั้นกับอารมณ์นั้นเอง
เช่น รูปดิฉันคือ หมุ จากรุปทรง 6 เหลี่ยม
ครูถามว่าทำไมวาดหมูในนี้ ดิฉันก็บอกว่าเคยเห็นมาสคอด ตามห้าม นี่คือสิ่งที่เคยเห็นมาก่อนและวาดตามความรู้สึกและต่างจากเดิมโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการวาดที่ต่างจากเคยเห็นเช่น หมวก เป็นต้น
จากนั้นนั้นอาจารย์ก็ให้นำกลับไปตัด และ ระบายสีให้สวยงาม



ระบายสี แล้ว ตัด เสร็จแล้วววว


จากนั้นนแปะใส่ในกระดาษ 100 ปอน




แล้วก็นำของแต่ละคนมารวมเป็นเล่มเดียวกัน

การนำไปใช้
การที่เรานำรูปทรงเลขาคณิตต่างๆมาออกแบบและเปิดโลกในตัวเองมากกว่าเดิมสามารถที่จำนำรูปทรงเหล่านี้มาเป็นสื่อในการเนรียนการสอน ในการบูรณาการได้หลากหลายวิชา ทั้ง คณิตศาสตร์ ศิลปะ วิทยาศาตร์ เป็นต้น และที่สำคัญในการเรียนการสอนนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือครูจะต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
เข้าห้องเรียนตรงเวลา มีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มที่ มีส่วนร่วมในการร่วมตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเต็มที่ และออกแบบงานได้หลายหลาย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความพร้อมก่อนเรียนทุกครั้ง ในเรื่องของการเรรียนการสอน และอุปกรณ์ที่ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรม และอาจารย์ยังมีการทวนความรู้เกา่ามาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่อีกด้วย











วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 7
วันที่ 10 ตุลาคม 2559


บรรยากาศในห้องเรียน
    เริ่มต้นจากการที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์คืออะไร มีอะไรบ้าง แต่ละอันมีความหมายว่าอย่างไร
 องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
 3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
4.  ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)

  1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น 

 2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว

              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด 

   3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน 
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน

 4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

  และท้ายที่สุด เมื่อคนเาเกิดความคิดที่หลายหลาก มีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นทำให้เกิดความคิดที่ค่อกัน เริ่มจาการคิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดอะออแล้วก็จะเกิดความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น


วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมากกมายและหลากหลายที่เกี่ยวกับ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมศิลปะ 
โดยมีกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม จัดเป็นฐานๆ ให้นักศึกษาทำกิจกรรมแต่ละฐานวนกันไปจนครบทั้งหมด 
โดยกิจกรรมที่ 1 ที่ดิฉันทำกิจกรรมคือ              
กิจกรรม ทำผีเสื้อโดยใช้มือเรา
อุปกรณ์
- สีน้ำ
- สีเทียน
- กระดาษ เอสี่
- พู่กัน
- กรรไกร
- แม็ก


วิธีการทำ
นำสีทาที่มือเราให้ทั่วมือ ทั้ง 2 ข้าง


แล้ว จุ้ม ลงบนกระดาษให้เป็นรอยมือของเรา


แล้วรอให้สีแห้งจากนั้นตกแต่งปีกผีเสื้อให้สวยงาม แล้วตัดตามรอยจากนั้นก้ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงแล้วนำไปติดกับปีกทั้ง สองทั้ง

                 


แต๊นนนนนน.................... นี่คือผีเสื้อน้อยๆของฉัน



กิจกรรม ประดิษฐ์แมลงน้อยจากแกนทิชชู
อุปกรณ์
แกนกระดาษทิชชู
เชือก
สี
กระดาษ
ที่เจาะรู


วิธีทำ
วาดรูปแมลงลงไปในกิจกรรมนี้เลือกทำผึ้ง จากนั้นระบายสีให้สวยงามจากนั้นตัดแกนกระดาษทิชชูครึ่งนึงแล้วเจาะรูทั้งหมด 4 รูแล้วนำเชือกรอยลงไปสลลับกันไปมาแล้วนำผึ้งมาติด กับแกนทิชชู แล้วดึงสลับไปขึ้นลงจะสามารถทำให้แมลงเลื่อนขึ้นลง เหมือนว่ากำลังบินอยู่ได้นั้นเอง



กิจกรรม  เป่าสีฟองสบู่
อุปกรณ์
หลอด
สีที่ผสมสบู่หรือน้ำยาล้างจาน
กระดาษ

วิธีการทำ เป่าสีลงกระดาษตัวเองตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง  นำไปบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์ได้ด้วย เรื่องแรงดันากาศ สสาร เป็นต้น


กิจกรรม ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ จากจานกระดาษ
อุปกรณ์
จานกระดาษ
สีเทียน
กรรไกร
กาว
เชือก
ไม้แหลม

วิธีการทำ
เลือกประดิษฐ์ งูที่สามารถขยับปากและขับตัวเลื่อยไปไปมาได้
ทำจานพับครึ่งแล้วเจาะรูตรงกลางเอากระดาษตัเป้็นท่อนๆดต่อกันเป็นตัวงูและเอาไม้แหลมหักเป็นซีกๆ เพื่อที่จะให้งูเลื่อยได้ ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม



กิจกรรมนี้โดยครูกำหนดไว้ว่าห้ามทำซ้ำกัน ทำให้แต่ละความมีชิ้นงานที่หลายหลากและแตกต่างกันออกไป เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความคิดต่างๆและสร้างสรรค์ผลงานออกมา

มาดูผลงานทั้งหมดกัน


จากนั้นครูก็มาสรุปกิจกรรมที่ได้ทำกันไปว่าการที่ทำกิจกรรมที่ทำในวันนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้างบูรณาการกับวิชาใดและการที่เป็นครูที่ดี ต้องไม่ปิดกั้นความคิดเห็นของเด็ก รับฟังความคิดเห็น ยอมรับข้อแตกแต่งระหว่างเด็กแต่ละคน

การนำไปใช้
สามารถนำกิจกรรมต่างๆไปใช้ได้ในหน่วยต่างๆ เช่น หน่วยผีเสื้อ และสามารถบูรณาการได้หลากหลายวิชา เช่นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ เป็นต้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ให้ความร่วมมือแก่เพื่อนๆและครู
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความพร้อมในการสอน และมีกิจกรรมที่หลายหลายมาให้นักศึกษาอยู่ตลอด









วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 6
วันที่ 3 ตุลาคม 2559


บรรยากาศในห้องเรียน
   วันนี้มีกิจกรรม นำเสนอ STEM / STEAM ที่อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำมา และ เลือกมา 1 กิจกรรมที่จะสอน โดยมีหน่วยทั้งหมด 5 หน่วย
1. หน่วยปลา
2.หน่วยยานพาหนะ
3.หน่วยข้าว
4.หน่วยไข่
5.หน่วยบ้าน
กลุ่มที่ 1 หน่วย ปลา
เพื่อนเลือกกิจกรรม สร้างบ่อปลา
  STEM
Engineering
Math
Art
บรรยากาศในห้องขณะทำกิจกรรม









มาดูแต่ละกลุ่มกันน







กลุ่มที่ 2 หน่วย ยานพาหนะ
เพื่อนเลือกกิจกรรม สร้างถนน
  STEM
Engineering
Math
Art
บรรยากาศในห้องขณะทำกิจกรรม




มาดูแต่ละกลุ่มกัน









กลุ่มที่ 3 หน่วยข้าว
กลุ่มดิฉันเลือกกิจกรรม ทำหุ่นไล่กา
  STEM
Engineering
Math
Art
Science
บรรยากาศในห้องขณะทำกิจกรรม








มาดูผลงานแต่ละกลุ่มกัน













มาดูหุ่นไล่กาแต่ละคนมารวมกัน



และมีเพื่นอีกกลุ่มที่ทำกิจกรรม หน่วยข้าว เหมือนกัน แต่เพื่อนจะเป็นกิจกรรมวาดรูป นาข้าว
กลุ่มที่ 4 หน่วยข้าว
  STEM
Engineering
Math
Art
Science
บรรยากาศในห้องขณะทำกิจกรรม






กลุ่มที่ 5 หน่วยไข่
เพื่อนเลือกกิจกรรม ไข่นาโมตามี้
  STEM
Math
Art
Science
บรรยากาศในห้องขณะทำกิจกรรม








กลุ่มที่ 6 หน่วย บ้าน
เพื่อนเลือกกิจกรรม วาดรูปบ้าน
  STEM
Engineering
Math
Art
บรรยากาศในห้องขณะทำกิจกรรม












การนำไปใช้
ได้รู้จักการจัดกิจกรรม STEM STEAM ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ในหน่วยต่างๆ และนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง 

การประเมิน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ นำเสนองานของตัวเองได้ดี และมีความรับผิดชอบในงานที่ทำ
ปรเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำ และรับผิดชอบงานของตนเอง และให้ความร่วมมือกิจกรรมต่างๆเต็มที่
ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักมากๆ มีกิจกรรมที่หลากหลายในการสอนนักศึกษา เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้ลงมือสอนและปฏิบัติด้วยตนเอง โดยอาจารย์คอยดูอยู่