บรรยากาศในห้องเรียน
เริ่มต้นจากการที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์คืออะไร มีอะไรบ้าง แต่ละอันมีความหมายว่าอย่างไร
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)
1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น
2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน
3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น
และท้ายที่สุด เมื่อคนเาเกิดความคิดที่หลายหลาก มีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นทำให้เกิดความคิดที่ค่อกัน เริ่มจาการคิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดอะออแล้วก็จะเกิดความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมากกมายและหลากหลายที่เกี่ยวกับ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมศิลปะ
โดยมีกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม จัดเป็นฐานๆ ให้นักศึกษาทำกิจกรรมแต่ละฐานวนกันไปจนครบทั้งหมด
โดยกิจกรรมที่ 1 ที่ดิฉันทำกิจกรรมคือ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)
1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น
2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน
3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น
และท้ายที่สุด เมื่อคนเาเกิดความคิดที่หลายหลาก มีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นทำให้เกิดความคิดที่ค่อกัน เริ่มจาการคิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดอะออแล้วก็จะเกิดความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น
โดยมีกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม จัดเป็นฐานๆ ให้นักศึกษาทำกิจกรรมแต่ละฐานวนกันไปจนครบทั้งหมด
โดยกิจกรรมที่ 1 ที่ดิฉันทำกิจกรรมคือ
กิจกรรม ทำผีเสื้อโดยใช้มือเรา
อุปกรณ์
- สีน้ำ
- สีเทียน
- กระดาษ เอสี่
- พู่กัน
- กรรไกร
- แม็ก
วิธีการทำ
นำสีทาที่มือเราให้ทั่วมือ ทั้ง 2 ข้าง
แล้ว จุ้ม ลงบนกระดาษให้เป็นรอยมือของเรา
แล้วรอให้สีแห้งจากนั้นตกแต่งปีกผีเสื้อให้สวยงาม แล้วตัดตามรอยจากนั้นก้ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงแล้วนำไปติดกับปีกทั้ง สองทั้ง
แต๊นนนนนน.................... นี่คือผีเสื้อน้อยๆของฉัน
กิจกรรม ประดิษฐ์แมลงน้อยจากแกนทิชชู
อุปกรณ์
แกนกระดาษทิชชู
เชือก
สี
กระดาษ
ที่เจาะรู
วิธีทำ
วาดรูปแมลงลงไปในกิจกรรมนี้เลือกทำผึ้ง จากนั้นระบายสีให้สวยงามจากนั้นตัดแกนกระดาษทิชชูครึ่งนึงแล้วเจาะรูทั้งหมด 4 รูแล้วนำเชือกรอยลงไปสลลับกันไปมาแล้วนำผึ้งมาติด กับแกนทิชชู แล้วดึงสลับไปขึ้นลงจะสามารถทำให้แมลงเลื่อนขึ้นลง เหมือนว่ากำลังบินอยู่ได้นั้นเอง
กิจกรรม เป่าสีฟองสบู่
อุปกรณ์
หลอด
สีที่ผสมสบู่หรือน้ำยาล้างจาน
กระดาษ
วิธีการทำ เป่าสีลงกระดาษตัวเองตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง นำไปบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์ได้ด้วย เรื่องแรงดันากาศ สสาร เป็นต้น
กิจกรรม ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ จากจานกระดาษ
อุปกรณ์
จานกระดาษ
สีเทียน
กรรไกร
กาว
เชือก
ไม้แหลม
วิธีการทำ
เลือกประดิษฐ์ งูที่สามารถขยับปากและขับตัวเลื่อยไปไปมาได้
ทำจานพับครึ่งแล้วเจาะรูตรงกลางเอากระดาษตัเป้็นท่อนๆดต่อกันเป็นตัวงูและเอาไม้แหลมหักเป็นซีกๆ เพื่อที่จะให้งูเลื่อยได้ ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
กิจกรรมนี้โดยครูกำหนดไว้ว่าห้ามทำซ้ำกัน ทำให้แต่ละความมีชิ้นงานที่หลายหลากและแตกต่างกันออกไป เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความคิดต่างๆและสร้างสรรค์ผลงานออกมา
มาดูผลงานทั้งหมดกัน
จากนั้นครูก็มาสรุปกิจกรรมที่ได้ทำกันไปว่าการที่ทำกิจกรรมที่ทำในวันนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้างบูรณาการกับวิชาใดและการที่เป็นครูที่ดี ต้องไม่ปิดกั้นความคิดเห็นของเด็ก รับฟังความคิดเห็น ยอมรับข้อแตกแต่งระหว่างเด็กแต่ละคน
การนำไปใช้
สามารถนำกิจกรรมต่างๆไปใช้ได้ในหน่วยต่างๆ เช่น หน่วยผีเสื้อ และสามารถบูรณาการได้หลากหลายวิชา เช่นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ เป็นต้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ให้ความร่วมมือแก่เพื่อนๆและครู
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความพร้อมในการสอน และมีกิจกรรมที่หลายหลายมาให้นักศึกษาอยู่ตลอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น